สำนักงานบัญชี และกฏหมายอย่างครบวงจร

เว็บไซต์จัดทำขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างการให้บริการในธุรกิจสำนักงานบัญชี และกฏหมาย ไม่มีการดำเนินการจริงแต่อย่างใด ข้อความ และรูปภาพต่างๆ นำมาจากใน internet และได้อ้างอิงถึงเนื้อหาไว้เรียบร้อยแล้ว และขอบคุณสำหรับรูปภาพ และเนื้อหาบทความต่างๆ
  • บริการรับทำบัญชี
  • บริการรับตรวจสอบบัญชี
  • บริการด้านภาษี
  • บริการรับปรึกษาด้านกฏหมาย
รายการทั้งหมด

ทีมงาน และบรรยากาศ

MANAGER

คุณเกสร เธอแม่นทุกงานตรวจงานบัญชีได้ละเอียด และรอบคอบที่สุด

COORDINATOR

คุณไกรลาส ประสานงาน รับงานลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

EMPLOYEE

คุณนิศรา ทำงานอย่างตรงไปตรงมา ละเอียดรอบคอบ ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่

LAWYER

คุณปราณีต ทนายความ รับปรึกษาปัญหาทางด้านกฎหมาย รอบคอบ รัดกุม

LAWYER

คุณอดิสร ทนายความ รับปรึกษาปัญหาทางด้านกฎหมาย ทำงานอย่างละเอียด ตรงไปตรงมา

VDO
Praesentation

สนใจติดต่อทีมงานมืออาชีพ พร้อมให้บริการ 24 ชั่วโมง

รีวิวลูกค้าจริง K-ACCOUNTANDLAW

ขอขอบคุณลูกค้าทุกท่านที่รีวิวให้ ทางเราจะพัฒนาการให้บริการดียิ่งขึ้นค่ะ

คุณจ๊อบ

" ดีมากเลยครับ ไม่ต้องเตรียมเอกสารให้ยุ่งยาก ที่นี่จัดการให้ครบ จบในที่เดียว ราคาไม่แพง บริการดีครับ "

26 พ.ย. 2558

คุณส้ม

" งานดีมีคุณภาพ ความรู้ความสามารถเยี่ยม ความใส่ใจในงานมากมาย ไว้มีโอกาสขอใช้บริการอีกค่ะ "

10 ม.ค. 2563

คุณจุ้ย

" ให้คำแนะนำด้านกฏหมายที่เราไม่เคยรู้มาก่อน เป็นที่ปรึกษาข้อกฏหมายของบริษัท ที่มีความรู้มาก ขอบคุณในคำแนะนำค่ะ "

26 พ.ย. 2558

FURNITURE DESIGN

เว็บไซต์จัดทำขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างการให้บริการในธุรกิจสำนักงานบัญชี และกฏหมาย ไม่มีการดำเนินการจริงแต่อย่างใด ข้อความ และรูปภาพต่างๆ นำมาจากใน internet และได้อ้างอิงถึงเนื้อหาไว้เรียบร้อยแล้ว และขอบคุณสำหรับรูปภาพ และเนื้อหาบทความต่างๆ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจ

การประกอบธุรกิจการค้าอาจดำเนินการได้หลายรูปแบบทั้งโดยบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการโดยลำพัง หรืออาจดำเนินการโดยร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเป็นกลุ่มคณะก็ได้การที่จะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจการค้าในรูปแบบใดนั้น ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการด้วยกัน เช่น ลักษณะของกิจการค้า เงินทุน ความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจเป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การประกอบธุรกิจนั้นประสบผลสำเร็จ นำมาซึ่งผลประโยชน์และกำไรสูงสุด
 
รูปแบบองค์กรธุรกิจ
 
เป็นนิติบุคคล (จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย)
ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน แบ่งเป็น ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน และห้างหุ้นส่วนจำกัด
บริษัทจำกัด
บริษัทมหาชนจำกัด
องค์การธุรกิจ จัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ
ไม่เป็นนิติบุคคล (อาจต้องจดทะเบียนตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์)
กิจการเจ้าของคนเดียว
ห้างหุ้นส่วนสามัญ

อ้างอิงเนื้อหาจาก
http://www.banbunchee.com/basic-knowledge-about-the-business.html
26 เม.ย. 2565

ทำบัญชีอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ

เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับการประกอบธุรกิจที่ผู้ประกอบการทุกรายจะต้องทำบัญชี ไม่เพียงแต่เฉพาะทำรายการรับเงินเข้าหรือจ่ายเงินออกเพื่อให้ทราบผลกำไรขาดทุน งบดุล หรืองบกระแสเงินสดเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการต้องลงบัญชีให้ถูกต้อง ถูกวิธี และกฎหมาย เมื่อใดที่เจ้าหน้าที่สรรพากรเข้ามาตรวจสอบอย่างครบถ้วน ผู้ประกอบการจะทำบัญชีได้อย่างถูกต้องนั้นมีผู้เชี่ยวชาญทางบัญชีเคยบอกกล่าวไว้ว่า ในเบื้องต้นผู้ทำบัญชีจะต้องมีความรู้ในธุรกิจที่ทำให้ดีเสียก่อน นอกจากนี้ก็ต้องมีระบบบัญชี ที่ดี มีเอกสารการรับเงินจ่ายเงิน สต๊อคสินค้า ส่งสินค้าให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติการบัญชี พศ.2543 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ประมวลรัษฏากร เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมอยู่ตลอดสำหรับการเข้าตรวจสอบของสรรพากร

ประเภทธุรกิจที่แตกต่างกัน ก็จะมีรายละเอียดในการทำบัญชีแตกต่างกัน เช่น ธุรกิจบริการ ต้องไม่ลืมที่จะคำนวณภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่เกิดการให้บริการ หรือธุรกิจผลิตสินค้า ต้องตีความให้ถูกต้องว่าสินค้าใด ผลิดเพื่อขายสินค้าใดรับจ้างผลิต ซึ่งจะมีการลงบัญชีแตกต่างกัน สำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก จะต้องแยกแยะให้ชัดเจนว่าเป็นธุรกรรมประเภทใด การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการให้เช่า ก็จะมีการลงบัญชีที่แตกต่างกัน

วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชีสำหรับกิจการ หลักๆ คือ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ใช้ประกอบการตัดสินใจภาวะสำคัญ และเพื่อประกอบการพิจารณาเป้าหมายของกิจการ นอกจากนั้น การทำบัญชียังมีประโยชน์เพื่อการสั่งการ การอำนวยการ การควบคุมบุคลากร และทรัพยากรที่สำคัญขององค์กรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล เพื่อให้แน่ใจว่ามีการรายงานและดำรงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรที่สำคัญขององค์กร และเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการควบคุมและเพื่อหน้าที่ทางสังคม ซึ่งเจ้าของกิจการ กรรมการ ผู้ถือหุ้น ต้องตระหนักถึงการมีระบบบัญชีที่ดีการจัดการทางบัญชีที่ดีต้องมีการจัดสายงานที่ดี มีระบบในการทำงานร่วมกัน ระบุหน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจน และมีการใช้กำลังคนที่เหมาะสมกับงาน มีการวางแผนและกำหนดเป้าหมายการจูงใจให้เกิดการทำงานไปสู่เป้าหมาย เข้าใจธรรมชาติของบุคคลและมีระบบควบคุมที่มีเสถียรภาพ นักบัญชีที่ต้องทำความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทางบัญชี เช่น พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 มาตรฐานการบัญชีประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ว่า ด้วยการจัดการห้างหุ้นส่วนและบริษัทพระราชบัญญัติกำหนดความผิดกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนบริษัทจำกัด สมาคม และมูลธิธิ ประมวลรัษฏากรกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น พ.ร.บ. โรงงาน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรียนและที่ดิน พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม ประกาศของกรมทะเบียนการค้า และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นต้น มาดูหน้าที่ของผู้จัดทำบัญชีกันว่า นอกจากจะต้องจัดทำบัญชีให้ถูกต้องแล้ว กรณ๊ปกติผู้จัดทำบัญชีจะต้องเก็บรักษาบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี กรณียกเลิกกิจการก็ต้องเก็บเอกสารจนกว่าจะส่งมอบให้สารวัตรบัญชี และสารวัตรบัญชีเก็บไว้อย่างน้อยอีก 5 ปี (ส่งมอบภายใน 90 วันขยายได้ถืง 180 วัน) กรณีถูกตรวจสอบ อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้เก็บเกิน 5 ปีแต่ไม่เกิน 7 ปี ส่วนผู้จัดทำบัญชี จะต้องมีคุณสมบัติโดยเป็นผู้มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทย มีความรู้ภาษาไทย ไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายบัญชี / สอบบัญชี เว้นแต่พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี มีคุณวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี / สอบบัญชีหรือเทียบเท่า เข้าอบรมพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง อบรม 3 ปี 27 ชั่วโมง (เนื้อหาเกี่ยวกับบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง แต่ละปีต้องเข้ารับการอบรมพัฒนาความรุ้อย่างต่อเนื่องทางวิชาชีพไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง) และจะต้องแจ้งรายละเอียดการอบรมตามแบบ ส.บช. 7 ต่อ อธิบดีภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของทุกปี

ขอบคุณที่มา : หนังสือเอกสารภาษีอากร
26 เม.ย. 2565

มาตรการช็อปช่วยชาติ

ปลุกกระแสการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจปลายปีกลับมาอีกครั้งจากการประกาศก้องของนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว. คลัง เพื่อต้องการมอบของขวัญปีใหม่ให้แก่คนไทยที่เป็นคนชั้นกลางของประเทศ ภายหลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 พ.ย.ได้อนุมัติวงเงินกว่า 38,000 ล้านบาท ช่วยเหลือประชาชนที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 14.5 ล้านคนเป็นของขวัญปีใหม่ไปแล้ว

ในรอบนี้ก็ถึงคราวคนชั้นกลางที่เสียภาษีให้แก่รัฐบาลมากกว่า 10 ล้านคน จะได้รับของขวัญปีใหม่ ที่เคยได้รับเกือบทุกปีจากรัฐบาล “บิ๊กตู่” พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้ดำเนินการครั้งแรกเมื่อปี 2558 ระยะเวลา 7 วัน ระหว่างวันที่ 25-31 ธ.ค.2558 ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 14-31 ธ.ค.2559 รวมระยะเวลา 18 วัน
และครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 11 พ.ย.-3 ธ.ค.2560 เพิ่มระยะเวลาเป็น 23 วัน มากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา ทำให้ภาพรวมของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ผ่านมาคึกคักและเป็นที่จับตาของประชาชน รวมถึงนักช็อปมือเติบที่จะได้ใช้มาตรการช็อปช่วยชาติในการซื้อสินค้าที่จำเป็น โดยข้อมูลล่าสุดจากรมสรรพากรระบุว่า มาตรการช็อปช่วยชาติปี 2560 มีคนใช้สิทธิลดหย่อนภาษีประมาณ 22,500 ล้านบาท ทำให้กรมสรรพากรสูญเสียรายได้ 1,800 ล้านบาท แต่ขณะเดียวกันกรมสรรพากรก็มีรายได้จากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) 245,244 ล้านบาท เพียงแค่ระยะเวลา 23 วัน จึงถือเป็นสิ่งเสพติดทางด้านเศรษฐกิจ เพราะผลลัพธ์ของมาตรการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า มีประชาชนจำนวนมากอยากได้ค่าลดหย่อน 15,000 บาทจากรัฐบาล เนื่องจาก “มาตรการช็อปช่วยชาติ” ทั้ง 3 ครั้งในช่วง 3 ปี เปิดกว้างให้แก่สินค้าหลายชนิด เพียงแต่ผู้ขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจะต้องขอใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาเป็นเอกสารประกอบการขอคืนภาษี ไม่สามารถใช้สลิปใบเสร็จหรือใบกำกับภาษีอย่างย่อได้

อ้างอิงเนื้อหา
https://www.thairath.co.th/news/business/1435631
26 เม.ย. 2565

ติดต่อเรา

71/2-13 โครงการโอโซนพลาซ่า ห้อง H1C,H2C ถนนคู้บอน แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงทพฯ 10230

Our Phone

Facebook

Our Line

ส่งข้อความหาเรา

ลูกค้าสามารถพิมพ์ข้อความที่ต้องการสอบถามได้จากฟอร์มด้านล่าง เมื่อทีมงานได้รับข้อความแล้ว จะติดต่อกลับลูกค้าโดยเร็วที่สุด